หน้าแรก     บทความ     Website     ทำเว็บไซต์ WordPress ให้โหลดเร็วแรงถึงใจ ด้วย Google Speed

ทำเว็บไซต์ WordPress ให้โหลดเร็วแรงถึงใจ ด้วย Google Speed
Website

ทำเว็บไซต์ WordPress ให้โหลดเร็วแรงถึงใจ ด้วย Google Speed

3 ปี ที่แล้ว

การเพิ่มยอดขายในการทำธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบัน จะต้องแข่งขันกันที่ความเร็วในการเปิดเว็บไซต์ เพราะผู้ใช้งานที่เข้าเว็บไซต์แล้วเจอเว็บไซต์ที่โหลดช้า ก็จะเกิดอาการไม่พอใจ พาลให้กดปิดเว็บไซต์ได้เลยนะครับ ถือว่าทำให้พลาดโอกาสการเพิ่มยอดขายสินค้าได้อย่างน่าเสียดาย ซึ่งระยะเวลาที่ผมแนะนำว่าเว็บไซต์ควรโหลดให้เร็วนั้นก็คือ 3 วินาทีครั้ง บน Desktop และบน Mobile ทั่งคู่เลย ดังนั้นนะครับ เจ้าของธุรกิจทุกท่านลองกลับไปสำรวจความเร็วเว็บไซต์ของตัวเองดู ถ้านานเกิด 3 วินาที ผมแนะนำให้รีบอ่านบทความนี้โดยด่วนเลย เพราะวันนี้ผมจะมาสอน 11 วิธี ทำให้เว็บไซต์ให้โหลดเร็ว แบบ 10 10 10 เต็ม ด้วย Google Speed


1. Hosting ต้องมีคุณภาพ

เลือกใช้โฮสติ้งที่มีคุณภาพดี ซึ่งผมมีตัวเลือกของโฮสที่อยากแนะนำให้ครับ เพราะการเลือกโฮสติ้งที่ดี จะทำให้การทำเว็บและ ทำ SEO ง่ายขึ้นครับ ความเร็วของการเปิดเว็บขึ้นอยู่กับโฮสที่เราเลือกใช้ด้วย โฮสติ้งที่ผมแนะนำสำหรับการทำเว็บด้วย WordPress มีดังนี้

  • www.hostatom.com เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและงบจำกัด เริ่มต้นราคาเพียงปีละ 1,500 บาท
  • www.siteground.com www.cloudways.com จุดเด่น คือ ความสเถียรเว็บไม่ล่ม ค่าใช้จ่ายปีละ 8,000-10,000 บาท

สำหรับคนไหนที่มีโฮสติ้งอยู่แล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโฮสใหม่ ถ้าเกิดโฮสติ้งที่ใช้บริการอยู่ผ่านมาตรฐานของทาง Wordpress ครับ

2. เลือก Theme ที่ดี

ธีม เปรียบเหมือนหน้าตาของเว็บไซต์และ ธีมของ WordPressนั้นมีการใช้งานแต่ละธีมนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งทาง WordPress ไม่ได้เป็นคนสร้างธีมขึ้นมาเองครับ แต่ผู้ใช้งาน WordPress เองที่สร้างธีมกันเองและเอามาขายให้พวกเราได้ใช้งานกันต่ออีกทีนึง ดังนั้น จึงมีธีมที่ดีและไม่ดี มีธีมที่เร็ว และธีมที่ช้า ปะปนกันไป หากอยากรู้ว่าธีมไหนโหลดช้า โหลดเร็ว คุณภาพดีอย่างไร ผมแนะนำให้ลองเอาชื่อธีมที่ต้องการไปโพสถามใน Facebook group นี้ WordPress Bangkok ดูครับ เพราะจะมีผู้ใช้งานที่ได้ลองใช้มารีวิวและแนะนำธีมอย่างละเอียด แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำ ธีมประเภท Bestseller บนเว็บ themeforest.net ที่มีฟังชั่นหลากหลายและโหลดไวที่สุด ผมแนะนำธีมนี้ครับ Flatsome Theme

3. ใช้ Plugin แต่พอเหมาะ

เว็บไซต์จะโหลดเร็วหรือโหลดช้า ก็มีปัจจัยขึ้นอยู่กับจำนวนปลั๊กอินที่เลือกใช้ด้วนะครับ ดังนั้นการเลือกใช้ปลั๊กอินควรมีหลักการดังนี้

  • ห้ามใช้ปลั๊กอินตามอย่างคนอื่น เช่น บางคนใช้ WordPress แล้วลงปลั๊กอิน Jetpack โดยที่ไม่รู้ว่าคืออะไร ไว้ทำอะไร
  • ใช้ปลั๊กอินเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  • ลองฝึกใช้ Theme option ของธีมที่เลือกให้เต็มประสิทธิภาพ เพราะอาจจะพลาดโอกาสที่จะเจอฟังก์ชันดี ๆ ได้ เช่น บางธีมมี Option สร้างรูปภาพแบบ Slider ได้เองจากธีมเลย แต่ไม่รู้ จึงไปโหลดปลั๊กอิน Slider มาใส่อีก เรียกว่าการใช้งานปลั๊กอินที่เกินความจำเป็น
  • ปลั๊กอินที่เป็น Third Party ที่ต้องโหลด Script มาจากเว็บไซต์อื่นเพื่อให้มาแสดงบนเว็บเรา ต้องเลือกใช้ให้น้อยที่สุดครับ พวกนี้จะทำให้เว็บไซต์โหลดช้า เช่น ปลั๊กอิน Live chat เป็นต้น

4. องค์ประกอบการปรับความเร็วเว็บไซต์

ก่อนที่จะปรับแต่งเว็บให้โหลดเร็วขึ้นได้นั้น ต้องรู้องค์ประกอบการปรับความเร็วบน WordPress ก่อนครับ ว่ามีจุดไหนที่ให้ปรับแต่งเองได้บ้าง ซึ่งองค์ประกอบหลักๆ ของการทำเว็บให้โหลดเร็ว มีดังนี้


1. Page Caching

Cache คือ ส่วนของข้อมูลที่ถูกเก็บซ้ำ ๆ ไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการใช้งานครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเรียกข้อมูลจากแหล่งกำเนิดอีกครั้ง 

สำหรับการปรับความเร็วเว็บไซต์ที่นิยมทำอย่างแรก คือ การทำ Cache ใน Browser ของคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และในครั้งหน้าที่เขากลับมาเยี่ยมชมเว็บของเราอีกครั้ง ข้อมูลส่วนใหญ่ก็จะถูกเรียกจาก Cache แทนที่จะต้องเรียกใหม่ทั้งหมด ซึ่ง Cache บนเว็บนั้นสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 ประเภท

  • Page Caching
  • Cache Preloading
  • Sitemap Preloading
  • Browser Caching


2. Database Optimization

การติดตั้งปลั๊กอิน ลงธีม เขียนบทความ ใน WordPress มักจะถูกเขียนลงในฐานข้อมูล ยิ่งนานฐานข้อมูลก็ยิ่งหนาขึ้นบวมขึ้น 

ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็มาจากไฟล์ข้อมูลที่เป็นขยะ เกิดจากการติดตั้งปลั๊กอินและถอนไปแล้ว คอมเมนต์ต่าง ๆ บนบทความที่ถูกลบไปแล้ว สแปมต่างๆ การอัพเดท การแก้ไข(Revisions) ถึงแม้ข้อมูลเหล่านี้ถูกลบไปเรียบร้อยแล้ว แต่มันยังค้างอยู่ในฐานข้อมูลอยู่ ใน WordPress

หากต้องการให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น ก็แค่ต้องเคลียร์และทำความสะอาดข้อมูลใน Database อยู่เป็นประจำครับ


3. Minification / Concatenation


ลดขนาดของ CSS, JavaScript และ HTML คือ การลบโค้ดที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น ลบอัขระตัวอักษรของโค้ด ลบช่องไฟ การเว้นบรรทัด เป็นต้น เพื่อทำให้เว็บไซต์ของเราโหลดเร็วขึ้นครับ


4. GZIP Compression


GZIP Compression คือ การย่อขนาดไฟล์ข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์ ด้วยโปรแกรม WinZip เพื่อทำให้เว็บไซต์โหลดข้อมูลเร็วขึ้น และลดการใช้งาน Bandwidth ส่งผลให้เว็บไซต์สามารถรองรับ Traffic ผู้ใช้งานได้มากขึ้น จะให้ดี 1 หน้าเว็บไซจ์ไม่ควรมีขนาดไฟล์เกิน 1 Mb ครับ


5. Lazy Load

Lazy load คือ การเรียกข้อมูลให้แสดงผลที่ละช่วง โดยไม่ต้องโหลดข้อมูลพร้อมกันทั้งหมดในครั้งเดียว การทำให้ข้อมูลปรากฎที่ละส่วน ช่วยให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น สำหรับเว็บไซต์ที่มีรูปภาพมาก ใน 1 หน้า ควรจะต้องเปิดใช้งาน Image Lazy Load ครับ 


6. Image optimization

Image optimization คือ การบีบขนาดภาพให้เล็กที่สุด ผมแนะนำรูปที่ใช้ประกอบบทความอย่าใช้ไฟล์ใหญ่เกิน 100KB รวมถึงขนาดกว้างxยาวด้วย อย่าใช้รูปภาพที่มีขนาดใหญ่เกิน Dimension ที่ออกแบบครับ

5. แก้ปัญหาด้วย Wp Rocket

Wp Rocket คือ ปลั๊กอินที่ช่วยปรับแต่ง WordPress ให้โหลดเร็วขึ้น และมีขั้นตอนใช้งานที่ง่ายมากครับ  แต่ปลั๊กอิน Wp Rocket ไม่ใช่ปลั๊กอินฟรีครับ โดยราคาแพคเกจเริ่มต้นประมาณ  1,500 บาท และต้องเสียเงินต่ออายุทุกปี

6. การบีบอัดรูป 

Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่เป็น Mobile Friendly ก็คือต้องโหลดไวและแสดงบนมือถือได้ชัดเจน ซึ่งปัญหาเว็บไซต์ที่โหลดช้า ส่วนหนึ่งเกิดจากรูปภาพที่มีขนาดใหญ่เกินไป 

ดังนั้นรูปภาพที่อัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ ควรจะมีขนาดกว้างxยาว อย่าให้เกิน 200KB ซึ่งควรบีบไฟล์ตั้งแต่ตอนการออกแบบรูปเลยครับ ซึ่งมีหลักการบีบไฟล์ให้เล็กมีดังนี้

  • ตั้งค่า resolution แค่ 72 
  • ควรใช้ไฟล์ .JPG หรือ .WebP เป็นหลัก
  • การ save ภาพ ตรง Quality ของภาพให้เลือกเป็น Low หรือ Medium
  • ใช้โปรแกรมช่วยบีบอัดไฟล์ หลังจากออกแบบรูปภาพและย่อไฟล์เรียบร้อยแล้ว  เช่น Tinypng , JPEGMini ,Imagify

ซึ่งปลั๊กอินที่ผมอยากจะมาแนะนำให้ใช้บีบอัดรูป นั้นก็คือ ปลั๊กอิน Imagify ซึ่งเป็นปลั๊กอินที่ใช้สำหรับย่อขนาดไฟล์รูปภาพ สั่งย่อภาพที่ละหลายรูปได้ในการคลิกเพียงแค่ครั้งเดียว ช่วยประหยัดเวลา และช่วยให้เว็บโหลดได้เร็วขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อดี คือ  

  • บีบรูปภาพได้หลายหลายนามสกุล เช่น .JPG .PNG .GIF
  • เลือกการบีบรูปได้ 3 ระดับ
  • มีการ Backup ให้อัตโนมัติ รูปในที่บีบแล้วแตก สามารถกู้ลืม original ได้
  • สามารถแปลงไฟล์ PNG JPG มาเป็นไฟล์ WebP ได้
  • ราคาปลั๊กอินนี้ มีทั้งแบบให้ใช้ฟรี และเสียเงินครับ

7. ใช้ Font ฝังเว็บไซต์

การนำฟอนต์ฝังลงบนเว็บแทนการเรียกใช้ Google Font จะช่วยให้เว็บไซต์โหลดเร็วและมีคะแนนที่ดีขึ้นครับ วิธีการนำฟอนต์ฝังลงบนเว็บไซต์ ผมแนะนำให้คุณทำ Font face ด้วยปลั๊กอิน Seed Font ครับ 

8. ไม่ใช้ Script ที่เป็น Third Party

อีกปัจจัยที่ทำให้เว็บโหลดช้า คือ มีการเรียก Script จากเว็บไซต์อื่นเช่น พวกที่เป็นปลั๊กอิน Social Live Chat ทั้งหลาย รวมถึง การแชร์ YouTube Vimeo Facebook video  ถ้าอยากได้คะแนน Page Speed สูงต้องตัดใจเอาออกครับ นอกจากนี้ที่เป็น Iframe ต่างๆ ที่เอามาฝังที่เว็บไซต์ด้วยครับ ทำให้เว็บเปิดช้าทั้งหมดเลย

9. ติด Tracking Code 

Tracking เก็บพฤติกรรมลูกค้า ให้ใส่เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้นครับ เพราะใส่เยอะเกินไปทำให้คะแนน Page Speed น้อยลงไปด้วยครับ ผมแนะนำให้ใช้ Google Tag Manager (GTM) ตัวเดียวพอ แล้วค่อยไปบริหารจัดการ Tracking Code ผ่าน GTM อีกทีครับ

10. ทำ Cloudflare

CloudFlare คือ ผู้ให้บริการ CDN (Content Delivery Network) ตัว CDN ทำหน้าที่กระจายเนื้อหาของไปตามเซิฟเวอร์ทั่วโลก และเมื่อมีผู้เข้าชมจากจุดไหน ระบบจะส่งข้อมูลให้ชมจากเซิฟเวอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุด ดังนั้นจึงทำให้เว็บไซต์ของเราเปิดเข้าชมได้เร็วขึ้นจากสถานที่ทั่วโลกครับ


การทำ CloudFlare ช่วยให้ผู้ใช้งานที่อยู่ต่างประเทศเปิดเว็บไซต์เร็วขึ้นแต่ไม่ได้ช่วยให้คะแนน Google Page Speed สูงขึ้นครับ นั้นหมายความว่าหากลูกค้าส่วนใหญ่ คือ คนไทย ก็ไม่จำเป็นต้องทำ CloundFlare 


ข้อควรระวังในการทำ CloudFlare

  • ต้องเลือกโฮสติ้งที่ Server อยู่ต่างประเทศเท่านั้น 
  • ต้องทำ HTTPS ให้สมบูรณ์ที่ฝั่งโฮสติ้งให้เรียบร้อยก่อน
  • ถ้ากลุ่มลูกค้าเป็นอยู่ต่างประเทศต้องทำ CloudFlare
  • ถ้ากลุ่มลูกค้าเป็นคนไทยเป็นหลักไม่ต้องทำ CloudFlare

11. ใช้วิธีวัดความเร็วเว็บไซต์ 

เครื่องมือที่คนส่วนใหญ่ใช้วัดความเร็วเว็บไซต์มีอยู่ 4 เว็บหลัก ได้แก่

  1. Google PageSpeed insight
  2. gtmetrix.com
  3. webpagetest.org
  4. Pingdom Website Speed Test

การวัดความเร็วแต่ละครั้งจะแสดงผลลัพธ์แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ดังนั้นการวัดความเร็ว ควรทดสอบสัก 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ ความเร็วการเปิดเว็บไซต์ก็ขึ้นอยู่กับที่ตั้ง server ที่ใช้ทดสอบด้วยครับ

GTmetrix  Webpagetest และ Pingdom สามารถเลือกที่ตั้ง Server สำหรับการทดสอบได้ ดังนั้นถ้าใช้โฮสที่ Server ตั้งอยู่ที่เมืองไทย ลูกค้าคนไทย ก็ต้องเลือกที่ตั้ง Server ที่อยุ่ในโซนเอเชีย หรือประเทศในเอเชีย ในขั้นตอนทดสอบความเร็วด้วยครับ

การ ทำให้เว็บไซต์ให้โหลดเร็ว เป็นเพียงแต่ส่วนหนึ่งสำหรับการทำ SEO การทำให้ผู้ใช้งานสนใจและอยู่ในเว็บไซต์ได้นานนั้นสำคัญกว่าครับ ดังนั้นควรคำนึงถึงการเขียนบทความ การออกแบบให้สวยงาม ใช้งานง่ายสะดวกสบาย และมีเนื้อหาน่าดึงดูด  ซึ่งบางครั้งการเน้นรูปภาพที่มีขนาดใหญ่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ แต่ควรเน้นให้ภาพมันชัดขึ้น หรือใส่คลิป YouTube บนเว็บไซต์บ้าง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจขึ้น  


ถึงแม้ว่าเว็บไซต์ของเราจะได้คะแนน Page Speed เพิ่มขึ้น แต่อย่าลืมว่าหัวใจหลักใน การทำ SEO ในยุค 2020 นั้นเน้นทำ SEO เพื่อสร้างคุณค่าให้ผู้ใช้งานมากกว่าครับ