หน้าแรก     บทความ     Website     10 ขั้นตอน สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ให้ปังด้วย WordPress

10 ขั้นตอน สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ให้ปังด้วย WordPress
Website

10 ขั้นตอน สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ให้ปังด้วย WordPress

3 ปี ที่แล้ว

การสร้างเว็บไซต์ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นเครื่องมือทางการตลาด ที่จะช่วยให้การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ แต่การสร้างเว็บไซต์ ขายของออนไลน์ ก็มีขั้นตอนมากมายที่ต้องศึกษา แต่ก็ยังมีเครื่องมือในการช่วยสร้างเว็บไซต์ให้ออกมาตอบโจทย์ความต้องการ อย่าง WordPress


นอกจากนี้หากคุณมีเป้าหมายที่ต้องการให้เว็บของคุณติดอันดับหน้าแรกบน Google หรือที่รู้จักกันคือ SEO บอกเลยว่าแค่ทำเว็บไซต์ให้สวยงามอาจจะไม่พอ แต่จะต้องมีคุณภาพที่ดีด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็น การโหลดที่รวดเร็ว เนื้อหาน่าสนใจน่าติดตาม การใช้งานที่สะดวกสบายสำหรับผู้เข้าชมเว็บไซต์ เป็นต้น 

ดังนั้นผมจะมารวบรวมความรู้พื้นฐานที่จะเพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจมือใหม่ได้สามารถ สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ผ่านทาง WordPress ให้มีคุณภาพครับ

1. ค่าใช้จ่ายสำหรับการสร้างเว็บด้วย WordPress 

สำหรับต้นทุน (เงิน+เวลา) ในการสร้างเว็บไซต์ ให้มีคุณภาพ มีดังนี้ครับ

  • ค่าจดโดเมน 400 – 1,000 บาท ราคาจะแตกต่างกันตามที่เลือกใช้ เช่น
  1. นามสกุล .com, .net, .in.th ราคาประมาณ 400-500 บาท
  2. นามสกุล .co.th ราคาประมาณ 1,000 บาท
  • ค่าเช่า Hosting ราคา 1,500 – 3,000 บาท
  • ค่าแพลตฟอร์ม ถ้าหากใช้ WordPress ในการทำจะไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ค่าธีม ราคา 2,000-2,500 บาท
  • ค่าจ้างทำกราฟิค ราคาโดยเฉลี่ย 15,000 – 20,000 บาท
  • ต้นทุนด้านเวลาการจ้างทำเว็บไซต์ ประมาณ 20-30 วัน
  • ต้นทุนด้านเวลาหากทำเว็บไซต์เอง มีดังนี้
  1. เวลาที่ใช้สำหรับการเรียนรู้ 2-3 เดือน
  2. เวลาที่ใช้สำหรับการทำเว็บให้ 1-2 เดือน
  • ค่าแรงของการรับจ้างทำ โดยเฉลี่ย 15,000 – 30,000 บาท 

ดังนั้นโดยสรุป ต้นทุนของการสร้างเว็บไซต์ ให้มีคุณภาพดี

  • หากจ้างคนอื่นทำราคาจะ ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท
  • หากคุณทำเองต้นทุนที่ใช้จะประมาณ
  1. 4,500 บาท (ไม่รวมค่ากราฟฟิค)
  2. 20,000 บาท (ทำเว็บไซต์เอง แต่จ้างกราฟิคออกแบบเพิ่ม)
  • เวลาที่ใช้ 3-4 เดือน กรณีที่สร้างด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเรียนรู้ จนถึงการลงมือทำเว็บให้สำเร็จครับ 

2. เครื่องมือสำหรับสร้างเว็บมีอะไรบ้าง

WordPress คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีเพื่อสร้างและจัดการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต (Contents Management System หรือ CMS) อธิบายง่าย ๆ คือ แทนที่จะดาวโหลดโปรแกรมมาทำการสร้างและออกแบบเว็บไซต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเขียนโค้ด แต่ CMS นั้นถูกสร้างมาเพื่อใช้งานบนอินเตอร์เน็ตโดยตรง แปลว่าเมื่อจะใช้งานโปรแกรมนี้ ก็สามารถใช้ได้ทันทีผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแค่ล็อกอินเข้าสู่ระบบจัดการของ CMS นั้น ๆ ซึ่ง WordPress นั้นเหมาะกับการสร้างเว็บไซต์แทบจะทุกประเภทเลยครับ แค่เลือกธีมให้เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการ  

นอกจาก WordPress ก็ยังมีเครื่องมืออีก 3 ตัว เพื่อมาทำงานร่วมกับ WordPress หรือเรียกว่า Plugin ที่มาเพื่อช่วยให้สามารถสร้างเว็บไซต์ สำหรับการขายของออนไลน์ให้ครับ เครื่องมือที่ว่ามีดังนี้

  • Woocommerce คือ ปลั๊กอินที่ช่วยให้ WordPress เป็นเว็บไซต์สำหรับร้านค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ ซึ่งสามารถโหลดตัวปลั๊กอินนี้มาใช้แบบไม่เสียค่สใช้จ่าย 
  • Theme คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับออกแบบ และจัดวาง layout ที่จะเป็นหน้าตาเว็บไซต์ WordPress ให้สวยงาม 
  • Plugin คือ เครื่องมือเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานเว็บ WordPress ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์ธุรกิจแต่ละประเภทที่ต้องการครับ

3. วิธีการจด Domain

Domain คือ การตั้งชื่อเว็บไซต์ขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยาก และเมื่อเจ้าของเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป

หลักการตั้งชื่อโดเมน (ชื่อเว็บไซต์) มีดังนี้

  • ควรตั้งชื่อโดเมนให้ สั้น กระชับ เพื่อให้จดจำง่าย
  • ควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ
  • ตั้งชื่อให้สื่อความหมายถึงสิ่งที่ธุรกิจที่ทำ 
  • อย่าตั้งชื่อโดเมนที่สะกดยากหรือพิมพ์ยาก
  • ไม่ควรมีเครื่องหมายขีด เช่น My-domain.com 
  • เลือกใช้นามสกุล .com เพราะคนส่วนใหญ่คุ้นเคยครับ หรือจะใช้นามสกุลอื่นได้แต่อย่าใช้นามสกุลที่ดูแปลกตาจนเกินไป

การจดโดเมนนั้นมีค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 400-1,000 บาท ราคาโดเมนจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับ นามสกุล ของโดเมนที่เลือกใช้ ซึ่งมีบริษัทรับจดโดเมนให้เลือกมากมายครับ แต่บริษัทรับจดโดเมนที่ผมแนะนำมีดังนี้ครับ

  • Go daddy
  • Namecheap
  • Hostatom

4. วิธีการเลือก Hosting 

Web Hosting คือ รูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง หรืออธิบายง่าย ๆ คือเป็นพื้นที่ ที่ใช้เก็บรูป ข้อมูล ไฟล์ต่างๆ เพื่อให้เว็บไซต์ของตนเองนั้น ออนไลน์อยู่บนอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม.ครับ

ประสิทธิภาพของเว็บไซต์จะดีหรือไม่ Hosting ก็มีส่วนสำคัญนะครับ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้บริการโฮสติ้งไหน สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ Hosting ที่ WordPress แนะนำมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง โดยสรุปย่อ ผมมีคำแนะนำสำหรับการเลือก Hosting ดังนี้ครับ

  • หากเป็นมือใหม่แนะนำให้ใช้ของไทยครับ 
  • ระบบจัดการหลังบ้านโฮส (Control Panel) ควรเป็น DirectAdmin
  • เวอร์ชั่น PHP web server ควรใช้เวอร์ชั่น PHP 7.2
  • ในตัว Direct Admin ควรมี Auto installer ช่วยติดตั้ง WordPress ด้วย เช่น Softaculous 
  • โฮสควรมีบริการ Let’s Encrypt – Free SSL/TLS Certificates เพื่อให้เราสามารถทำเว็บเป็น HTTPS ได้ฟรี
  • แพคเกจของโฮสไม่ควรจำกัดโดเมนและซับโดเมนครับ
  • ส่วนพื้นที่ของโฮสไม่ต้องกลัวเต็มครับ โดยเฉลี่ยเว็บที่ทำด้วย WordPress ที่ขนาดเล็กถึงกลางอยู่แล้ว ซึ่งจะใหญ่ไม่เกิน 500 MB 

Bandwidth ส่งข้อมูลไปต่างประเทศ ถ้าโฮสไหนออกต่างประเทศไม่ค่อยดีจะเกิดปัญหาการแชร์ลิงค์แล้วรูปไม่ขึ้นครับ

5. การตั้งค่า namesaver และทำ https

  • เช็คค่า Nameserver ทุกโฮสติ้งจะมีเลขที่ อยากให้โดเมนที่จดไว้มาแสดงที่โฮสไหน ต้องตั้งค่า Nameserver ก่อนครับ วิธีการเช็ค Nameserver และตั้งค่า Nameserver มีดังนี้ครับ
  • ให้เราเข้าระบบหลังบ้านของ Hostatom จากนั้นให้เลือกเมนู บริการของฉัน
  • ดูตรงที่เป็นสีเขียวๆ คลิกที่ สินค้า/บริการที่ใช้งานอยู่
  • จะเห็นชื่อของ Nameserver ของโฮสที่เราใช้งานอยู่ ให้ copy ชื่อ Nameserver เก็บไว้ก่อน เพื่อเตรียมจะเอาไปใส่ที่โดเมน
  • เลือกเมนู โดเมนของฉัน
  • เปิดใช้งาน Let’s Encrypt เพื่อทำเว็บให้เป็น HTTPS  ทำเว็บให้เป็น HTTPS คือ การเข้ารหัสข้อมูลบนเว็บไซต์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย สังเกตเห็นว่าเว็บไหนที่เขาเข้ารหัสไว้ มันจะมีการแสดงรูปแม่กุญแจเอาไว้บน Browser ครับ วิธีการทำมีดังนี้ 
  • กลับไปที่หน้า Home ของ DirectAdmin
  • เมนู Advanced Features คลิกเลือก SSL Certificates
  • ติ๊กเลือกเมนู Use the server’s shared signed certificate.
  • เลือก Free & automatic certificate from Let’s Encrypt
  • ระบุข้อมูลส่วนตัว เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ
  • ให้เลือกที่ ใช้ nameservers ที่กำหนดเอง ให้เอาชื่อ nameserver ของโฮสเรา วางลงไปครับ คลิกเปลี่ยน nameservers ให้เรียบร้อย

6. วิธีติดตั้ง WordPress บน Hosting

การติดตั้ง WordPress แต่ละ Hosting จะมีเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยไม่เหมือนกัน แต่หลักการก็จะคล้าย ๆ  กันครับ ส่วนขั้นตอนติดตั้ง WordPress บน Hosting มีดังนี้  

  • เข้าสู่ระบบหลังบ้านของโฮส
  • เลือกเมนู บริการของฉัน
  • คลิก เข้าสู่ Direct Admin
  • ที่หน้า Home ของ Direct Admin จะมีส่วนของตัวช่วยการติดตั้ง CMS ต่างๆ คลิกไปที่สัญลักษณ์ WordPress
  • คลิก install now เพื่อเริ่มต้นเข้าสู่หน้า ติดตั้ง WordPress
  • ใส่ข้อมูลเริ่มต้นในการ ติดตั้ง WordPress บนโดเมนที่ต้องการ จากนั้นก็คลิก install

7. หลักการเลือก Theme และการออกแบบเว็บไซต์ด้วยพรีเมี่ยมธีม

Plugin WordPress ที่เหมาะกับการขายของออนไลน์นั้นก็คือ Woocommerce ครับ ซึ่งธีมที่ควรจะเลือกจะมีหลักการดังนี้ครับ

 

  • ควรใช้ธีมที่พรีเมี่ยม หรือธีมเสียเงินครับ เพราะธีมฟรีจะมีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ และไม่มีความยืดหยุ่น จะเหมือนเป็นเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ปรับแต่งตามใจลำบาก แต่หากเลือกใช้ธีมที่เสียเงิน การใช้งาน จะยืดหยุ่น สามารถเลือกปรับทุกอย่างได้อย่างอิสระและตรงตามความต้องการมากกว่าครับ
  • มีการอัพเดทอยู่เสมอ ควรมีการอัพเดทให้ทันกับการใช้งานบน WordPress เวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอครับ 
  • อัพเดทตาม Woo เวอร์ชั่นล่าสุด (ver.3+)
  • มียอดขายพอสมควร ควรเลือกธีมที่มียอดขายดี เพราะธีมไหนที่ไม่ค่อยมียอดขาย ผู้สร้างธีมมักหยุดพัฒนาธีม หรืออัพเดทธีมในรองรับ WordPress และ Woocommerce เวอร์ชั่นใหม่ ๆ หากไปเลือกใช้ธีมนั้นๆ ต่อไป ก็มีความเสี่ยงสูงว่าเว็บไซต์จะใช้งานไม่ได้เมื่อมีการอัพเดทนั้นเองครับ
  • มีคลิปสอนการ Setup ธีม บน YouTube ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องเขียนโค้ดยาก ๆ แต่ทุกธีมก็มีวิธีการใช้ของธีมนั้น ๆ ดังนั้นควรเลือกธีมที่มีคลิปสอน ก็จะช่วยให้เราเรียนรู้การทำเว็บได้เร็วขึ้นนั้นเอง
  • มี Facebook Group ช่วย ถาม-ตอบ ในบางธีม จะมีการสร้าง Facebook Group เพื่อคอย Support คนที่ใช้ธีมเดียวกัน ติดขัดตรงไหนเราก็สามารถไปตั้งกระทู้ถามได้เลยครับ 
  • แหล่งซื้อธีมคุณภาพ themeforest.net


การออกแบบเว็บไซต์ด้วยพรีเมี่ยมธีม ผมแนะนำเป็น Flatsome ครับ ซึ่งเป็นธีมที่มีฟังชั่นสมบูรณ์แบบเหมาะสำหรับการทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ธีม Flatsome มีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสร้างเว็บที่หลากหลายไอเดีย ใช้งานง่าย เป็นธีมที่ขนาดเล็ก ช่วยให้เว็บไซต์เปิดได้เร็วขึ้น


จุดเด่นของธีม Flatsome คือ

  • มี Page Builder เป็นของตัวเอง แสดงผลแบบ Live Preview ทำให้เบาและเสถียร และสามารถสร้าง Slider, สร้าง Grid และ Effect ได้โดยไม่ต้องใช้ปลั๊กอินเพิ่มเติม
  • มีเครื่องมือช่วยปรับแต่งเว็บไซต์มากมาย แสดงผลแบบ Live Preview ทำให้ใช้งานง่าย และที่ Theme Option สามารถปรับแต่งได้อย่างไม่มีข้อจำกัด 
  • มีการพัฒนาและเพิ่มฟังชั่นใหม่ ๆ อยู่ตลอดใน 4 ปีที่ผ่านมาด้วยนักพัฒนาธีมระดับโลก 

8. วิธีการสร้างระบบตระกร้าสินค้า (Woocommerce)

Woocommerce เป็นปลั๊กอินสร้างระบบร้านค้าออนไลน์ ที่เป็นที่นิยมมาก สามารถโหลดตัวปลั๊กอินนี้มาใช้ฟรี ๆ ได้เลยนะครับ และในปัจจุบันจากสถิติเว็บร้านค้าออนไลน์ของทั้งโลก 47% คือเว็บที่สร้างมาจาก Woocommerce โดยใน Woocommerce จะมีฟีเจอร์สนับสนุนการทำงานในการขายสินค้าออนไลน์ที่ครบถ้วน อันได้แก่

  • การติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐาน
  • การลงสินค้าประเภทต่างๆ
  • การตั้งค่าจัดส่ง
  • การสร้างฟอร์มแจ้งชำระเงิน
  • การจัดการ order สินค้า
  • จัดการเรื่องสต๊อคสินค้า

9. วิธีการดูแลเว็บไซต์ให้ปลอดภัย

  • อัพเดท WordPress, Theme, Plugin สม่ำเสมอ
  • อย่าตั้ง Username และ Password ให้ง่าย
  • ติดตั้งปลั๊กอินรักษาความปลอดภัยที่จำเป็น
  • เลือกโฮสที่น่าเชื่อถือ
  • Backup ข้อมูล

10. การวัดผลด้วย Google Analytics 

สำหรับเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดพลลัพธ์ต่าง ๆ จะมีอยู่ 2 ตัว คือ Google Analytics กับ Google Search Console ซึ่งทั้งสองอย่าง มีลักษณะการวัดผลที่แตกต่างกันครับ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

  • Google Analytics คือ เครื่องมือฟรีของ Google ที่ช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ ได้เก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ปรับปรุงในส่วนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด การซื้อโฆษณา การปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ และการหาสิ่งที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์สนใจ เช่น สินค้า บริการ รวมถึงเนื้อหาต่างบนเว็บไซต์ของเรา
  • Google Search Console คือ บริการฟรีของ Google ที่ใช้เพื่อดูสถิติคนเข้าเว็บ ที่มาจากการค้นหาบน Google แบบธรรมชาติ (Organic Search) เท่านั้น ไม่รับรวม Traffic จาก Ads หรือมาจาก Social Media

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับการ สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ไม่ยากเลยจริงไหม ถึงแม้ว่าจะเป็นมือใหม่ที่อยากเริ่มทำธุรกิจ หรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อยากขยับขยายธุรกิจ ขั้นตอนไหนสงสัยก็สามารถศึกษาหาข้อมูลได้เองนะครับ เพราะถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานเบื้องต้น 


นอกจากความรู้พื้นฐานที่ผมได้เขียนแล้วนั้น การนำไปปรับใช้ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญนะครับ หากต้องการให้เว็บไซต์ตอบโจทย์ความต้องการในการทำธุรกิจแล้วล่ะก็ ก็ต้องลองถูกลองผิดกันไปนะครับ ไม่มีหลักการไหนตรงกับความต้องการ 100% นะครับ อย่าลืมอัพเดตข้อมูลข่าวสารและพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ต่อไปเรื่อย ๆ นะครับ อย่าลืมเรื่องของการทำ SEO On Page เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจครับ