หน้าแรก     บทความ     Article     5 วิธีเขียนบทความให้ถูกหลัก SEO

5 วิธีเขียนบทความให้ถูกหลัก SEO
Article

5 วิธีเขียนบทความให้ถูกหลัก SEO

3 ปี ที่แล้ว

“เขียนบทความยังไงให้คนมาอ่านเยอะๆ” คำถามโลกแตกสำหรับนักเขียน Content หลายๆคนที่ผมเคยเจอมา ก็เขียนถูกหลักไวยกรณ์แล้วนะ เนื้อหาก็น่าสนใจ แต่ทำไมคนถึงยังหาไม่ค่อยเจอ วันนี้เราจะมาไขคำตอบกันครับ


สารบัญน่ารู้

บทความ SEO คืออะไร

ก่อนอื่นเลยเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า “บทความ SEO” และ “บทความที่อ่านง่าย” ต่างกันอย่างไร บทความ SEO นั้นนอกจากจะต้องเขียนให้ถูกหลักไวยกรณ์แล้วคุณยังต้องเขียนให้ถูกหลักการตลาดด้วย เพื่อให้ Google นั้นสามารถทราบได้โดยง่ายว่าบทความที่เรากำลังจะเขียนนั้นกำจะลังสื่อถึงเรื่องอะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละที่จะช่วยให้อันดับเว็บไซต์ของคุณดีขึ้นและมีคนค้นหาเว็บไซต์ของคุณเจอเพิ่มมากขึ้น

ทำไมต้องเขียนบทความ SEO

การเขียนบทความ SEO จะช่วยให้เว็บไซต์ของเรามีคนเข้ามาชมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อ Google เข้าใจแล้วว่าบทความของเรากำลังจะพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร จะทำให้เมื่อมีคนค้นหา Keyword เกี่ยวกับบทความที่เรากำลังเขียน Google จะดันให้เว็บไซต์ของเรามาอยู่อันดับต้นๆ ยิ่งอันดับของเราดีเท่าไหร่ก็ยิ่งมีคนคลิกเข้ามาเจอเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น คุณเชื่อหรือไม่ว่าเว็บไซต์ที่อยู่อันดับที่ 1 และเว็บไซต์ที่อยู่อันดับที่ 10 มียอดการคลิกต่างกันมากกว่า 10 เท่า!!

การเขียนบทความ SEO ต้องทำยังไงบ้าง

การจะเขียนบทความ SEO ได้นั้นอย่างแรกคุณจำเป็นต้องรู้ก่อนเลยว่าถ้าท่ายใดยังไม่ทราบหรือยังไม่มั่นใจผมแนะนำให้ไปอ่านบทความนี้ก่อนเลยครับว่า SEO คืออะไร  

เอาหละมาถึงตอนนี้ทุกท่านก็คงทราบกันแล้วว่า SEO คืออะไร งั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

1. เลือก Keyword ที่ต้องการ

การเขียนบทความ SEO สิ่งที่คุณจะต้องรู้นอกจากว่าคุณกำลังจะเขียนเรื่องอะไร คุณยังจำเป็นต้องรู้ว่า คุณกำลังจะสื่อถึง Keyword แบบไหน วิธีง่ายๆในการเลือก Keyword ก็คือ มองในมุมของผู้ใช้งานว่าถ้าหากคุณเป็นผู้ที่กำลังมีความสนใจในสินค้าหรือบริการที่คุณกำลังจะขาย คุณจะ Search ว่าอะไร หลังจากนั้นเราก็จะไปดูว่าคำที่เราเลือกมานั้นมียอด Search ต่อเดือนเท่าไร่, คู่แข่งเป็นยังไงบ้าง, แนวโน้มเป็นยังไงบ้าง ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ก็สามารถดูได้จากเครื่องมือมากมายที่มีไว้ตามอินเทอร์เน็ต เช่น Google Keyword Planner (External Link) หรือถ้าใครอยากลองศึกษาแบบละเอียดก็สามารถอ่านได้ที่นี่ครับ อ่านวิธีเลือก Keyword ได้ที่นี่ (Anchor Text) 


2. กระจาย Density ของ Keyword ให้เหมาะสม

เมื่อเราเลือก Keyword ที่เราต้องการได้แล้ว(อาจจะมากกว่า 1 คำก็ได้) เราก็นำ Keyword เหล่านั้นไปใส่ในบทความที่เราจะเขียนโดยภายในบทความนั้นจะต้องมีการควบคุมความหนาแน่นของบทความ (Keyword Density) ให้เหมาะสม เพราะถ้าหากน้อยเกินไป Google อาจจะไม่ทราบความต้องการของเราว่าเรากำลังจะสื่อถึงเรื่องอะไร แต่ถ้าเกิดว่ามากเกินไป Google จะมองว่าบทความของเราไป Spam Keyword คำนั้นๆหรือเปล่า 

แล้ว Keyword Density ในหนึ่งบทความควรเป็นเท่าไหร่ละ?

ตอบ : เอาจริงๆแล้วคำตอบนี้มีหลายคำตอบนะครับขึ้นอยู่กับว่าคุณไปอ่านของเว็บไซต์ไหนมา แต่โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่จะแนะนำอยู่ที่เกิน 2% แต่ไม่ควรเกิน 4% หรือในบางสำนักอาจจะบอกว่าไม่ควรเกิน 2.5% ซะด้วยซ้ำ

ถ้าเกิดใครที่เว็บไซต์ทำโดย WordPress ผมขอแนะนำ Plug-in ดีๆที่จะมาช่วยให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้นครับ นั่นก็คือเจ้า Yoast SEO นี่เองเจ้า Yoast SEO นี้จะเข้ามาช่วยทำ Checklist ให้ว่าบทความของคุณขาดข้อไหนไปบ้างซึ่งเรื่อง Keyword Density ก็เป็นหนึ่งในข้อเหล่านั้นครับ

3. เขียนบทความให้ยาวกำลังดี

การที่คุณเพิ่มเนื้อหาลงเว็บไซต์แม้จะแค่ 100 แน่นอนว่าดีกว่าที่ไม่ได้เพิ่มอะไรเข้าไปเลย แต่ถ้าเป็นไปได้คุณควรเขียนบทความของคุณให้มีความยาวไม่ต่ำกว่า 1,000 คำ หรือถ้าน้อยที่สุดก็ไม่ควรต่ำกว่า 600 คำ มีงานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่า Google มักจะชอบเนื้อหาบทความที่มีเนื้อหาเชิงลึก มีความยาวและจำนวนคำมากๆ มากกว่าบทความที่มีจำนวนคำอยู่เพียงไม่กี่ร้อยคำ (ในบางสำนักบอกไว้ว่าไม่ควรต่ำกว่า 1,500-2,000 คำเลยทีเดียว)


4. ใส่ Heading และ Meta Tag (เปลี่ยนคำ) ต่างๆ

Heading คือสิ่งที่เราต้องการจะบอกกับ Google ว่าเราต้องการเน้นตรงไหนโดยมีตั้งแต่ H1 ที่มีความสำคัญมากที่สุดไปจนถึง H6 ที่มีความสำคัญน้อยที่สุด ถ้าต่ำกว่านั้นก็จะเป็นพวก Paragraph1-2 ไล่ลงไป (ใส่รูปตัวอย่างด้วย) โดยปกติเรานิยมใส่หัวข้อแรกสุดจำพวกชื่อบทความเป็น H1 และหัวข้อที่ย่อยลงไปก็จะลดหลั่นกับไปตามลำดับความสำคัญ เพราะฉะนั้นคุณอย่าลืมวางแผนการวางโครงของบทความตั้งแต่ก่อนเริ่มเขียนละ จะได้ไม่ต้องมานั่งคิดกันทีหลังอีก

Meta Tag (เปลี่ยนคำ) ต่างๆ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งนอกจาก Heading ที่จะช่วยบอก Google ว่าบทความที่เรากำลังจะเขียนนั้นต้องการจะบอกถึงเรื่องอะไรโดยแบ่งย่อยได้ออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. Title หรือชื่อบทความ
  2. URL ของหน้าบทความนั้นเรียกอีกอย่างว่า Slug ในกรณีนี้การทำ Friendly URL ก็จะมีส่วนช่วยให้ URL ดูเรียบร้อยและยังส่งผลต่อ SEO มากขึ้นอีกด้วย
  3. Description คือส่วนที่จะอธิบายแบบย่อๆว่า หน้า URL นี้ของคุณกำลังจะบอกถึงเรื่องอะไร โดยจะมีความยาวอยู่ที่ 2-3 บรรทัด คุณควรจะเลือกคำที่มาใส่ในช่องเหล่านี้ให้ดีๆ

ทั้ง 3 ข้อนี้เรียกรวมกันว่า SERP (Search Engine Results Pages) ซึ่งถ้าคุณลองดูรูปด้านล่างคุณก็จะเห็นภาพคุ้นๆที่เราเห็นกันจนชินตา ใช่แล้วครับทั้ง 3 ตัวนี้ก็คือสิ่งที่จะไปแสดงเมื่อเราค้นหาด้วย Google นั่นเอง นอกจากจะใช้อธิบายหน้าบทความนั้นของคุณแล้วยังช่วยในเรื่องของ SEO อีกด้วยนะครับ

สำหรับวิธีการใส่ทั้ง Heading และ Meta Tag ขึ้นอยู่กับว่าเว็บไซต์ของคุณใช้อะไรขียนนะครับ ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress เขียนก็สามารถใช้ Plug-in ที่ชื่อว่า Yoast SEO เพิ่มในส่วนนี้ได้เลยครับ


5. รูปภาพก็ไม่ใช่สิ่งที่จะมองข้ามในบทความ

แม้การเขียนบทความจะเป็นเรื่องของการเขียนตัวหนังสือเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นบทความไหนที่เขียนลงตามเว็บไซต์ เราก็มักจะเพิ่มรูปภาพคั่นสายตาเอาไว้ใช่ไหมละครับ เจ้ารูปภาพเหล่านี้แหละที่จะมีส่วนช่วยให้บทความของเรามีอันดับที่ดีขึ้นหรือที่เราเรียกว่าการใส่ Alt+Text

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าชื่อของรูปภาพในบทความก็ส่งผลต่อ SEO และอันดับของบทความเช่นเดียวกัน ก่อนอัพโหลดรูปภาพลงไปในบทความควรตั้งชื่อรูปภาพให้มี Keyword สอดคล้องกับในบทความด้วย

เป็นยังไงกันบ้างครับกับวิธีเปลี่ยนจากบทความธรรมดาให้กลายเป็นบทความ SEO ไม่ยากเลยใช่ไหมละครับ ใครที่อยากลงลึกในข้อมูลเหล่านี้สามารถหาลองค้นหาเพิ่มเติมใน Google ดูได้เลยนะครับน่าจะมีคนเขียนวิธีทำเอาไว้แล้วทุกหัวข้อ หรือถ้าใครอยากทักมาถามกับเราผมก็ยินดีนะครับ ทักมาพูดคุยกันได้เลยที่ NB Digital หรือถ้าใครรู้สึกอยากได้ผู้เชี่ยวชาญมาดูแลด้านนี้โดยตรงเราก็มีบริการนะครับ รับรองว่าราคามิตรภาพแน่นอนครับ (5555+)