หน้าแรก     บทความ     SEO     อยากเป็นเว็บไซต์ที่รักของ Google ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ 12 Checklist SEO On-page

อยากเป็นเว็บไซต์ที่รักของ Google ไม่ใช่เรื่องยาก  เพียงแค่ 12 Checklist SEO On-page
SEO

อยากเป็นเว็บไซต์ที่รักของ Google ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ 12 Checklist SEO On-page

3 ปี ที่แล้ว

ถ้าเกิดใครถามขึ้นมาว่า ‘จะทำ SEO On-page อย่างไร’ ผมคงต้องขอกระดาษกับปากกามาเขียนอธิบายกันเลยทีเดียว เพราะจะให้ตอบเพียงสั้นๆ นั้นไม่ได้จริง ๆ การจะทำ SEO (Search Engine Optimize) นั้นมีปัจจัยเป็นร้อยข้อที่จะทำให้ เว็บไซต์ถูกจัดอันดับต้น ๆ ในการค้นหาของ Google ดังนั้นผมจึงรวบรวม Checklist ที่สำคัญพื้นฐานสำหรับการทำ SEO On-page เพื่อให้เจ้าของธุรกิจไปจนถึงทีมดูแลเว็บไซต์ ได้นำไปพัฒนาเว็บไซต์ที่รักของเรา ให้ได้รับการคัดเลือกจาก Google มากขึ้นครับกันครับ


พอจะเห็นภาพรวมกันแล้วใช่ไหมครับ แต่สำหรับท่านใดที่ยังไม่เข้าใจ ผมจะอธิบายเป็นหมวด ๆ   ให้เข้าใจง่าย ๆ นะครับ โดยแบ่งตามกลุ่มประเภท ซึ่งได้แก่  ด้าน Link & Page , ด้าน Meta Tag ด้าน File Optimization และ ด้าน Content

1. เตรียมพร้อมสำหรับ 404 Not Found Page

เคยเป็นกันใช่ไหมครับกับการเปิดหน้าเว็บไซต์แล้ว จู่ ๆ ก็ต้องหัวเสียกับการเจอหน้า 404 Not Found Page แบบนี้ ซึ่งเหตุผลที่เจอ 404 Not Found Page นั้นก็มาจากการที่ลิงค์นั้น ๆ ที่คลิ๊กถูกลบไป หรือ เว็บไซต์นั้น ๆ กำลังปรับโครงสร้างเว็บอยู่ ทำให้ URL ของเว็บไซต์เปลี่ยนไป ระบบจึงแสดงผลแบบนี้ครับ


บางครั้งผู้พัฒนาเว็บไซต์ก็หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดนี้ได้ยาก แต่การจะปล่อยไปผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ต้องกดเข้ามาเจออะไรแบบนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำสุด ๆ พาลจะทำให้ผู้เยี่ยมชมรู้สึกหงุดหงิดและเกิดความรู้สึกลบกับเว็บไซต์ของเราได้ ดังนั้นการสร้าง Custom 404 Not Found Page ในสไตล์ของเราเองนั้น จึงเป็น สิ่งที่ Google สนับสนุนให้ทำอย่างยิ่ง ผมแนะนำให้ใช้ข้อความและการออกแบบที่น่ารัก ๆ นะครับ จะช่วยให้ผู้เยี่ยมชมรู้สึกเข้าใจระบบที่ผิดพลาดได้ง่ายขึ้น

2. การแก้ไข Broken Internal Link  

หลังจากที่พัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ทุกครั้ง ผมว่าการตรวจสอบลิงค์ต่าง ๆ ที่อัพเดตเพิ่มเป็นสิ่งที่สำคัญเลยทีเดียว บางทีอาจจะมีลิงค์ที่พิมพ์ผิด หรือคลิ๊กแล้วลิงค์หายไป การตรวจสอบทุกครั้งจะช่วยแก้ไขและลดความผิดพลาดได้ ลองคิดกลับกันว่าถ้าผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์เปิดไปเจอ Error เข้า จะรู้สึกไม่ดีแค่ไหน ไม่รวมถึงการที่ระบบ Google เองมาเจอแล้วพาลจะทำให้ ระดับ SEO ของเราน้อยลงอีกครับ

3. เว็บไซต์ย้ายไปที่ใหม่ ให้ Redirect 

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า  Redirect คือ การเปลี่ยนเส้นทางของ URL หนึ่งไปยังอีก URL หนึ่งอย่างถาวร หากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์กดเข้าลิงค์เก่า ระบบก็จะต่อไปลิงค์ใหม่ให้ทันที นอกจากนี้ยังแสดงให้ Google เข้าใจว่า URL ใหม่นี้เคยมีตัวตนมาก่อน ทำให้การติดอันดับบน Google ของเว็บเรายังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่ต้องเริ่มต้นทุกอย่างจากศูนย์ใหม่นะครับ

4. Internal Links

การเขียนบทความที่มีการ Internal Links จากเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีคุณภาพนั้น จะช่วยให้ Google มองเห็นภาพรวมของเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราได้เป็นอย่างดี แต่ผมแนะนำให้ว่าไม่ควรจะมากเกินไปนะครับ ไม่ควรเกิน 60 ลิงค์ เพราะอาจจะทำให้ไม่น่าอ่าน และทาง Google เองก็จะลด SEO On-page ของเว็บไซต์ของเราให้ลดลง

5. Navigator ยิ่งน้อยยิ่งดี

สำหรับ Navigator บนเว็บไซต์แล้ว นั่นหมายถึง ปุ่ม Menu ต่าง ๆ ในเว็บไซต์ของเราที่นำทางไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ พอจะนึกภาพออกกันไหมครับ ซึ่งยิ่งมีเยอะเท่าไหร่ ก็อาจะส่งผลเสียให้กับเว็บไซต์เท่านั้นนะครับ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกอันไหนก่อนดี หรือแม้กระทั้ง Google Bot ที่มาตรวจสอบเว็บไซต์ของเรา โดยปกติเจ้าตัว Google Bot เนี่ยจะทำงานเป็นระบบตามขั้นตอนครับ จะเริ่มต้นตรวจสอบจากองค์ประกอบเว็บไซต์ด้านบนลงล่าง ไม่ว่าจะเป็น Domain Name, URL, Meta Tag, แบนเนอร์โฆษณา ไปจนถึงเมนูเว็บหรือ Navigato ซึ่งหากเว็บไซต์มีจำนวนเมนูเยอะเกินไป ก็จะทำให้ Google Bot ไปเจอ Content สำคัญของเว็บไซต์ช้าลงครับ 


ดังนั้น ผมจึงอยากแนะนำว่าควรมี Sub Menu แค่ประมาณ 3 ชั้นก็พอครับ แต่หากธุรกิจหรือองค์กรของท่านใดที่มีรายละเอียดเยอะมากจริง ๆ ก็แนะนำให้เลือกเฉพาะส่วนที่สำคัญหรือมีจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์เข้ามาบ่อย ๆ ดีกว่านะครับ และส่วนที่สำคัญรองลงมาหรือส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้ อาจจะขยับไปอยู่ตรง Footer menu แทน เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของเราก็จะดูเป็นสัดส่วนมากขึ้น ใช้งานง่าย สบายตาน่าสนใจ และช่วยให้ เพิ่มคะแนนในการทำ SEO On-page อีกด้วยครับ

6. Title และ Description สิ่งสำคัญไม่ควรลืม

  • Meta Tag ก็คือ Title และ Description Tag ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก ๆ รองจาก Content ในเว็บไซต์ของเราเลยครับ โดยทาง Google เนี่ยก็จะใช้ทั้ง 2 ส่วนนี้ พิจารณาและทำความเข้าใจเนื้อหาเว็บไซต์ของเรา 
  • Title และ Description Tag พูดง่าย ๆ ก็คือ ชื่อและคำอธิบายเว็บไซต์ของเราในแต่ละหน้าครับ ซึ่งก็จะเปรียบเหมือนกับเซลล์แมนที่ทำหน้าที่บอกเล่า โน้มน้าวให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์เข้าใจเว็บไซต์มากขึ้น รู้จักธุรกิจของเรา จนไปถึงสนใจสินค้า/บริการของเราด้วยครับ 

นอกจากนี้แล้ว Title และ Description Tag ยังเป็นส่วนที่จะทำให้ Google ได้พิจารณาการจัดอันดับเว็บไซต์ว่ามี Keyword ที่จำเป็นต่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์รึเปล่า ดังนั้นก็อย่าลืมใส่ Keyword ในทั้ง 2 ส่วนนี้นะครับ

7. Title กับ Description ห้ามซ้ำกัน 

เว็บไซต์แต่ละหน้าควรมี Title กับ Description ที่ไม่ซ้ำกันนะครับ เพราะแต่ละสามารถบอกเล่าเนื้อหาได้ต่างกัน ดังนั้นการเขียนทั้งคู่เหมือนกัน ก็อาจทำให้ Google มองเห็นภาพรวมของเว็บไซต์ของเราได้น้อยลงครับ ทางทีดีผมแนะนำว่า เขียนแยกกันให้ชัดเจนเลย

รู้หรือไม่ !  นอกจากที่ระบบของ Google จะไม่ชอบ Title กับ Description ที่ซ้ำกันแล้ว การลอกเลียนแบบ Content จากเว็บไซต์อื่นมาเหมือนเปี๊ยบและมีมาบ่อย ๆ นั้นก็เป็นสิ่งที่ Google ไม่โอเคมากเลยครับ

8. การตั้งชื่อไฟล์ให้ครบ  

เป็นจุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้ามเลยนะครับ เพราะทีมผู้พัฒนาเว็บไซต์ บางครั้งก็มักจะโฟกัสระบบหลังบ้านให้ใช้งานง่าย รวมไปถึงเรื่องของความสวยงาม ถึงแม้จะมีแอดมินช่วยดูแล Content เองก็ตาม แต่การตั้งชื่อไฟล์แบบเป็นตัวเลขหรืออักษรที่ไม่มีความหมายอย่าง ‘aaaaaa.text’ ‘1.pdf’ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไหร่ เพราะ Google Bot เองจะอ่านออกและพาลไปลดคะแนน SEO On-page ของเราลงนะครับ 


ดังนั้นอย่ามองข้ามการตั้งชื่อไฟล์นะครับ ตั้งให้ครบถ้วนจะช่วยให้ Google เข้าใจเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น 

TIP : ลองใช้ Keyword ของเว็บไซต์ของคุณมาแทรกในการตั้งชื่อด้วยสิครับ ผมบอกเลยว่า Google ถูกใจสิ่งนี้แน่นอน !

9. การตั้งชื่อภาพ  Image Title และ Image Alt Text  

คล้าย ๆ กับการตั้งชื่อไฟล์ที่อธิบายไว้ข้อด้านบนเลยครับ เราสามารถใส่คำอธิบาย Image Title และ Image Alt Text  เพื่อเพิ่มคะแนน SEO On-page ให้เว็บไซต์ของเรา ถึงแม้ว่าผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์จะมองไม่ค่อยเห็น คำอธิบาย Image Title และ Image Alt Text ( ยกเว้นตอนอินเตอร์เน็ตไม่ดีก็อาจจะเห็นได้ ) แต่ก็เป็นจุดเล็ก ๆ ที่ผมไม่แนะนำให้มองข้ามครับ อย่าลืมตั้งชื่อโดยแทรก Keyword ของเว็บไซต์ไว้ด้วยนะครับ

10. ตั้งค่า Heading (H1, H2) ให้เป็น  

 การตั้ง Heading เป็นการช่วยให้ Google Bot เนี่ยเข้าใจเนื้อหาสำคัญของ Content ที่เราต้องการนำเสนอ Heading จะทำให้ Google Bot จับประเด็นได้ไวขึ้นนั้นเองครับ โดยแบ่งเป็นดังนี้  

  • H1 คือ หัวข้อที่ใหญ่ที่สุดของเว็บไซต์นั้น ๆ 
  • H2 คือ หัวข้อรองที่สำคัญรองลงมานั้นเอง 
  • H3 คือ หัวข้อย่อย ๆ 

ซึ่งโปรแกรมอย่าง WordPress รวมถึงโปรแกรมตระกูล Microsoft Word และ Google Docs เองนั้นก็มีเมนูที่ให้เราเลือกตั้งค่า Heading ทั้งหมดครับ เพียงเท่านี้ ก็ถือว่าช่วยให้ระบบ Google เข้าใจเว็บไซต์ของเรามากขึ้น

11. Keyword สำคัญ  

สิ่งที่สำคัญรองลงมาจากหัวข้อของเว็บไซต์เลยนั้นก็คือ Keyword ครับ เราควรจะมี Keyword สำหรับเว็บไซต์ เพื่อเป็นการเพิ่มคะแนน SEO On-page ครับ โดยการวางตำแหน่งของ Keyword ผมแนะนำว่าวางไว้ในส่วน H1และ H2 รวมทั้ง Body Text จะดีกว่า  เพราะจะเป็นการเน้นย้ำให้ Google รู้ว่าเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงครับ จะช่วยทำให้เว็บไซต์ของเรามีอันดับที่ดีขึ้น  


ดังนั้นแล้ว การจะหา Keyword ให้ดีและเหมาะสม อาจจะต้องใช้ วิธีการหา Keyword รวมถึงนักเขียนและนักการตลอดออนไลน์ ที่มีความถนัดเฉพาะทาง ก็จะได้ Content ที่ดี มีคุณภาพ และถูกใจผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

12. URL ที่เป็นเข้าถึงง่าย

URL ของเว็บไซต์เราก็เหมือนป้ายแนะนำเส้นทางต่าง ๆ ในบ้านของเรา ดังนั้นการจะทำให้เว็บไซต์ของเราเพิ่มคะแนนจาก Google มากขึ้น จึงควรตั้ง URL ให้เป็น Keyword ของหน้านั้น ๆ ไปเลยนะครับ ไม่ควรเป็นอักขระ หรือตัวอักษรมั่ว ๆ  ไม่อย่างงั้นแล้วอาจทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรามองเห็นว่าเว็บไซต์ของเราภาพลักษณ์ไม่ค่อยโอเคเอาซะเลย


เป็นอย่างไรบ้างครับกับการทำ Checklist ที่ผมได้ลองจัดไว้ให้ มองเห็นภาพรวมกันมากขึ้นใช่ไหมจริง ๆ แล้วการทำ SEO On-page นั้นมีข้อดีมากกว่าที่คิดนะครับ ช่วยทำให้เว็บไซต์ของเราสะดวกสบายต่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมทั้งยังช่วยให้ระบบ Google Bot สามารถเข้ามาเก็บข้อมูล (Crawling) ไปทำดัชนี (Indexing) และจัดอันดับ (Ranking) เว็บไซต์ของเรา


Checklist นี้ เป็นการรวบรวมปัจจัยสำคัญ ๆ ที่จะช่วยให้การจัดอันดับของ Google ง่ายขึ้น ซึ่งบางข้อก็เป็นส่วนเล็ก ๆ ที่หลายคนมักจะมองข้าม จนทำให้ ผิดผลาดโดยไม่รู้ตัว ลองดูนะครับ ผมเชื่อว่าถ้าคุณได้ลองทำตามครบ 12 ข้อแล้ว อันดับของเว็บคุณคงจะดีขึ้น และอย่าลืมหมั่นพัฒนา Content ในเว็บไซต์ให้น่าติดตามอยู่เสมอนะครับ ผมเอาใจช่วย