หน้าแรก     บทความ     Website     อยากเริ่มต้นทำเว็บไซต์ E-Commerce ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากเริ่มต้นทำเว็บไซต์ E-Commerce ต้องเตรียมตัวอย่างไร
Website

อยากเริ่มต้นทำเว็บไซต์ E-Commerce ต้องเตรียมตัวอย่างไร

3 ปี ที่แล้ว

กระแสการทำธุรกิจนั้น เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วตามยุคตามสมัยจริงไหมครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ต ช่องทางการตลาดหรือการทำธุรกิจก็เปิดกว้างยิ่งกว่าเดิม หนึ่งในนั้นก็คือการทำเว็บไซต์ขายของ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของการทำเว็บไซต์ E-commerce นั่นเอง


สารบัญน่ารู้

ทำไมต้องเริ่มทำเว็บไซต์ E-commerce


เจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของแบรนด์หลาย ๆ คน อาจมองว่า การขายผ่านเพจ Facebook คือ ช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายที่สุด แต่ความจริงแล้ว ถ้าหากมองในอีกมุมว่า ถ้าวันหนึ่ง Facebook ปิดตัวลงล่ะ ร้านของเราจะเป็นอย่างไร หรือถ้าเรามีคอนเทนท์ดี ๆ สาระความรู้แน่น ๆ การโพสท์ลง Facebook ก็อาจอยู่บน Feed ได้ไม่นาน เพราะก็จะถูกโพสอื่นๆ ที่เป็นอัพเดตกว่ามาแทน


เพราะความไม่แน่นอนนี่เอง ที่ทำให้เจ้าของธุรกิจบางคนไหวตัวทัน และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการทำเว็บไซต์ขายของ (E-commerce) มากขึ้น เพราะสามารถบริหารจัดการข้อมูลบนหน้าเว็บได้ด้วยตัวเอง สามารถแบ็คอัพหรือทำการสำรองข้อมูลไว้ได้เป็นระยะ เมื่อเกิดปัญหาอะไรก็ตาม ก็หมดห่วงว่าหน้าเว็บจะหายไป นอกจากนี้ในระยะยาว ที่สำคัญการทำ SEO บนเว็บไซต์ขายของออนไลน์ยังมั่นคงกว่าอีกด้วยครับ 

3 เทคนิคสร้างเว็บไซต์ E-commerce


1. หน้าเว็บไซต์ E-commerce ก็เปรียบเหมือนหน้าตาของร้านค้า

ยิ่งทำเว็บไซต์ได้สวยสะดุดตา กราฟิกและรูปภาพน่ามอง เหมาะสมกับสไตล์ธุรกิจ ก็จะยิ่งช่วยสร้างความประทับใจและความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจมากยิ่งขึ้นครับ นอกจากนี้การเพิ่มเติมรายละเอียดบนหน้าเว็บไซต์ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นชื่อแบรนด์ สโลแกน ข้อมูลแบรนด์ ข้อมูลสินค้า ฯลฯ ก็จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้า และทำให้แบรนด์ธุรกิจของเราดูจับต้องได้ มีตัวตนจริง ช่วยเพิ่มอัตราการเปลี่ยนจากผู้เข้าชมให้กลายเป็นลูกค้าให้สูงขึ้นได้


2. เน้นความสะดวกสบายและใช้งานง่าย

ความสะดวกสบายและใช้งานง่าย คือ หัวใจสำคัญของการทำเว็บไซต์ขายของครับ เพราะการที่จะโน้มน้าวให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์กดสั่งซื้อสินค้า นั้น จะต้องทำช่องทางต่าง ๆ ให้สะดวก เช่น ปุ่มสั่งซื้อ มีสีสันสดใสที่มองเห็นชัดเจน ปุ่มสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่คลิกง่าย ราคาที่เด่นชัด รูปภาพสินค้าสวย รวมถึงช่องทางการชำระเงินที่น่าเชื่อถือ 

นอกจากนี้บางคนอาจเพิ่มเติมวิธีการสั่งซื้อและชำระเงินเข้ามาบนเว็บไซต์ด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้คนที่เข้ามาบนเว็บของเรารู้ว่าเขาต้องกดคลิกตรงไหนหากต้องการสินค้า ความง่ายและสะดวกจึงเป็นคำตอบของการเพิ่มยอดสั่งซื้อบนเว็บไซต์ขายของครับ 


3. ปรับแต่งเว็บไซต์ให้รองรับการจัดอันดับ SEO

เมื่อเริ่มต้นทำเว็บไซต์ขายของ ควรศึกษาการทำ SEO เบื้องต้นควบคู่กันไปด้วยจะดีที่สุดครับ เพราะ SEO เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ร้านค้า สามารถสู้กับคู่แข่งที่เปิดร้านค้าออนไลน์ประเภทเดียวกันได้ เพราะลูกค้าจะสามารถหาร้านออนไลน์ของเราเจอได้ง่ายกว่า หากเรามีการทำ SEO ที่ดีจนสามารถติดอันดับการค้นหาหน้าแรกของ Google 

ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้รับทำเว็บไซต์เกิดขึ้นมากมายครับ ถ้าเกิดว่าเจ้าของธุรกิจไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม หรือต่อให้มีการสร้างเว็บไซต์แบบสำเร็จรูปอย่าง Worldpress ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการศึกษาพอสมควร

ดังนั้น ทางเลือกที่จะจ้างทำเว็บไซต์ก็คือว่าน่าสนใจทีเดียว โดนมีทั้งเป็นแบบ Freelance หรือบริษัทฃการเลือกผู้ให้บริการย่อมเป็นปัจจัยหลักของการสร้างเว็บไซต์ด้วยครับ ก่อนที่เราจะสร้างเว็บไซต์ ต้องมาเตรียมความพร้อมของธุรกิจก่อนครับว่า สิ่งที่ต้องการมีอะไรบ้าง สร้างเว็บไซต์แบบไหนถึงจะตอบโจทย์ โดยเริ่มต้นที่ 


  • อยากทำ E-commerce แบบไหน ขายสินค้าอะไร
  • จ้างทำ E-commerce อยากได้ผู้รับจ้างประเภท Freelance หรือ บริษัท
  • เตรียมข้อมูลรายละเอียดบริษัทและธุรกิจรึยัง 
  • เตรียมบริการ/สินค้าที่ต้องการให้ผู้ใช้งานรู้จักรึยัง
  • เน้นเป็นแบบสั่งซื้อสินค้าได้หรือไม่ หรือเน้นแบบโปรโมทสินค้าแล้วโทรสั่งสินค้าแทน
  • สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการตอบ Inbox หรือรับโทรศัพท์


เมื่อเตรียมข้อมูลทั้งหมดนี้พร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็หาผู้จัดทำครับ หากจ้างเป็นบริษัทราคาจะสูงหน่อยแล้วแต่บริษัทต่างๆ ตามต้นทุนการทำงานครับ รวมไปถึงการออกแบบ และเขียนโปรแกรมครับ ซึ่งราคาก็จะอยู่ที่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนครับ แต่ข้อดีก็ คือ มีการทำงานที่เป็นระบบแบบแผน และมีความน่าเชื่อถือครับ


หรือถ้าสนใจเป็น Freelance ผมแนะนำให้ใช้เวลาในการพูดคุย และดูตัวอย่างผลงานครับ เพราะ Freelance ก็จะมีจุดเด่นที่ต่างกันแต่ละคนไป ซึ่งควรจะทำสัญญาจ้างให้เรียบร้อย และข้อดี คือ มีราคาที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับบริษัทครับ

การทำเว็บไซต์แบ่งได้ 3 ประเภท คือ


1. ใช้เว็บสำเร็จรูปที่มีให้ใช้บริการ ส่วนราคาก็จะมีตั้งแต่ฟรี เช่น Wordpress ครับ เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกและมีข้อมูลให้ศึกษาเพิ่มเยอะมากตามช่องทางต่าง ๆ เดี๋ยวนี้มีเยอะมากครับ ไปจนถึงเสียเงินหลักพัน หลักหมื่นต่อปี เว็บไซค์สำเร็จรูป จะเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นขายสินค้าบนโลกออนไลน์ เพราะสามารถทำแบบฟรี หรือแบบเสียเงินที่จ่ายรายปีที่ไม่แพง 


ข้อดี

  • - ราคาถูก
  • - เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
  • - ใช้งานไม่ยาก มีสอนทำเยอะมากครับ
  • - แก้ไขหน้าตาเว็บได้ง่าย


ข้อเสีย

  • - หน้าตาเว็บเหมือน ๆ กับเว็บอื่นๆ
  • - ไม่สามารถย้ายออกไปใช้งานที่อื่นได้
  • - จ่ายค่าพื้นที่แพงกว่าใช้ที่อื่น หากเทียบในราคาที่จ่ายเท่ากัน
  • - บางกรณีก็มี Option มากเกินไป
  • - แก้ไขปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบไม่ได้
  •  


2. ใช้ CMS ทำขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันมีคู่มือและ CMS เกิดขึ้นมากมายครับ แต่เหมาะสำหรับผู้ที่พอมีพื้นฐานในการทำเว็บไซต์ระดับหนึ่ง หรือคนที่มีความชื่นชอบในโปรแกรมหรือเว็บไซต์ การทำ CMS จะเริ่มไกล้ชิดกับ การเขียน Codeing มากขึ้นครับ หรือถ้าใครไม่อยากศึกษาเองก็สามารถจ้างบริษัทหรือฟรีแลนซ์ได้ครับ


ข้อดี

  • - ติดตั้งง่าย
  • - ราคาไม่แพง
  • - จ่ายรายปีไม่แพง
  • - ย้ายออกไปใช้ที่อื่นได้
  • - ได้พื้นที่ที่สมเหตุสมผล
  • - ปรับแต่งเองได้แต่อาจจะยากหน่อย
  • - ปรับแต่งจัดทำเรื่อง SEO ได้ดี


ข้อเสีย

  • - หากติดตั้งเองต้องมีความรู้พื้นฐานโปรแกรม
  • - เสียเวลาศึกษา
  • - เสี่ยงกับการถูก Hack ได้ง่ายหากไม่หมั่น upgrade
  • - หากติดตั้งระบบไม่ดีหรือลงโปรแกรมเสริมเยอะ จะทำให้เว็บโหลดช้ามาครับ ส่งผลต่อ Page Speed ครับ
  • - ใช้งานยาก เพราะต้องใช้งานตามที่ CMS ออกแบบไว้
  • การจัดทำด้วย CMS ค่าใช้จ่ายในการจัดทำ จะประกอบไปด้วย ค่าติดตั้ง ค่าออกแบบเว็บ ค่าปรับเข้ากับระบบ ดังนั้นเรทราคาก็จะไม่ได้สูงมากครับ อยู่ที่หลักพันถึงหลักหมื่น


3. จัดทำเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมด สำหรับส่วนนี้เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีต้นทุน และต้องการเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมทั้งภาพลักษณ์ของบริษัทหรือตัวแบรนด์สินค้า จัดทำออกมาให้ดูน่าเชื่อถือและใช้งานได้ง่ายด้วยครับ


ข้อดี

  • - รูปแบบสวยงามตรงตามสินค้าและบริการ
  • - สร้างการจดจำ ความน่าเชื่อถือของสินค้าได้ดี
  • - ออกแบบได้หลากหลายรูปแบบรูปแบบไม่ซ้ำใคร
  • - การใช้งานง่ายตรงตามการใช้งานจริง
  • - ข้อมูลไฟล์และ code ไม่เยอะเกินไปทำให้หน้าเว็บโหลดได้ไวขึ้น
  • - เพิ่มฟังก์ชันการทำงานได้หลากหลายตามต้องการ
  • - ปรับแต่งจัดทำเรื่อง SEO ได้ดี


ข้อเสีย

  • - ราคาสูงค่อนข้างสูงมาก

จะเห็นว่านะครับว่า การสร้างเว็บไซต์ E-Commerce ขึ้นมาซักเว็บ ประกอบด้วยองค์ประกอบมากมาย ถ้าหากอยากเริ่มต้น ทำเว็บไซต์ E-Commerce แล้วละก็ เจ้าของธุรกิจจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งข้อมูลบริษัท ข้อมูลสินค้า/บริการ งบประมาณในการทำเว็บไซต์ และวางแผนเว็บไซต์ให้เข้าถึงง่ายด้วยครับ 


เพราะฉะนั้นแล้วการทำเว็บไซต์เป็นของตัวเอง จะช่วยเสริมยอดขายให้กับธุรกิจได้อย่างแน่นอนครับ ถ้าหากเพิ่มการทำการตลาดออนไลน์เพิ่มด้วยแล้วล่ะก็ ก็จะทำให้ธุรกิจของเราแข็งแกร่งยิ่งขึ้นเลยนะครับผมแนะนำ